Sunday 13 May 2018

การจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบ Double Classroom

          ช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบวิธีคิด การเรียนรู้แบบ Double Classroom "ผู้เขียน" มีสถานะเป็นครูผู้ช่วยสังกัดโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี พ.ศ. 2561 
           ช่วงดังกล่าว "ผู้เขียน" ได้มีโอกาสแบ่งปันและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนกับคุณครูทั้ง 2 ท่าน ซึ่งท่านแรกครูปานทิพย์ ดอนขันไพร สอนอยู่โรงเรียนวัดสระสี่มุม และท่านที่สองครูปัณณธร แก้วเขียว สอนที่โรงเรียนวัดคลองสว่างอารมณ์ โดยทั้ง 2 สอนกลุ่มสาระฯ สังคมเดียวกัน แต่ต่างโรงเรียน ที่กำลังก้าวเข้าสู่เวทีการนำเสนอผลงานในระดับประเทศ ซึ่งเป็นรายการที่มีคุณค่าและทรงเกียรติกับชีวิตข้าราชการครูทั่วประเทศ โดยโครงการ Thailand Innovative Teacher Leadership Awards บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทุก ๆ ปี จึงเกิดแนวคิดของการสร้างห้องเรียนแบบ Dubble Classroom โดยมีเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารเป็นจุดเชื่อมโยง

Double Classroom คืออะไร ?

            ในความหมายของผู้เขียน การเรียนรู้แบบ double classroom คือ ชุมชนการเรียนรู้ การแบ่งปันกิจกรรม กระบวนการ รูปแบบ ผลงานระหว่างห้องเรียนต่างสถานที่ ต่างโรงเรียน ต่างภูมิประเทศ ซึ่งลักษณะเนื้อหา ความรู้อาจมีลักษณะเป็นวิชาเดียวกัน หรือคล้ายคลึงในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น กลุ่มสาระสังคมฯ ผู้เรียนกำลังศึกษาหัวข้อการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ เป็นต้น โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคพลเมืองดิจิตอล หรือศตรวรรษที่ 21 โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียน และผู้สอนได้เกิดทักษะ 3 สิ่งคือ
             1. Knowlage โรงเรียนคู่สัมพันธ์ได้แบ่งปันความรู้ เช่น โรงเรียนวัดสระสี่มุมกำลังเรียนเนื้อหาสำรวจ ระบุตำแหน่งของภูมิศาสตร์ โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์เรียนเนื้อหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 โรงเรียนสามารถเชื่อมโยงให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องตำแหน่งที่ตั้งภูมิศาสตร์ ที่อาจสอดคล้องกับภัยทางธรรมชาติที่มีอยู่ตามสภาพที่ตั้งภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ได้ เป็นต้น
             2. Share สำหรับการแบ่งปันจะเกิดกับผู้เรียน และผู้สอนได้โดยตรง เนื่องด้วยเทคโนโลยี 
Online สามารถสร้างหรือจำลองการเรียนแบบร่วมภายในเวลาที่เหมาะสมระหว่างกัน เกิดการแบ่งปันความรู้ ข้อคำถาม และข้อแนะนำซึ่งกันและกันเป็นห้องเรียนแบบเปิดกว้างสร้างความน่าสนใจให้กับสังคมห้องเรียนแบบใหม่ ๆ
             3. experience ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนการสอน การเรียนรู้ อีกระดับของเทคโนโลยี
และการสื่อสาร มุมมองการเรียนรู้ เทคนิควิธีต่าง ๆ ของห้องเรียนต่างโรงเรียนซึ่งกันและกัน

ประโยชน์ Double Classroom ?

             1. เรียน 1 ได้ถึง 2 (ทูอินวัน) คือ สามารถเสริมการเรียนรู็ในช่วงเวลาเดียวกัน รับรู้พร้อม ๆ กัน
             2. การมีส่วนร่วม คือ นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีปัจจุบันสมาร์ทโฟนร่วมแสดงความคิดเห็น โหวต ติดตาม แนะนำ คำถามต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ได้
             3. เชื่อมโยง คือ การเชื่อมโยงความเป็นพลเมืองดิจิตอลในยุคศตวรรษที่ 21 ผ่านสังคมการเรียนร่วมเทคโนโลยี Online ในวิธีการ

แนะนำโดย "ผู้เขียน" ครูสุทธิกิตติ์ ธิติวรนันท์

             1. Double Classroom เหมาะกับกลุ่มสาระฯ เดียวกัน หัวข้อใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกันจึงจะเป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎี Double Classroom ต่างสถาบันที่ผู้สอนจะได้เสนอในความหมายข้างต้น และรูปแบบ วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ หรือต่างออกไปทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากเป็นทวีคูณในแต่ละคาบของการเรียนการสอน
             2. โปรแกรม หรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ควรเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารปัจจุบัน ง่ายต่อการเข้าถึง ผู้เรียนคุ้นเคย สะดวก และเข้าถึง (ในที่นี้ผู้เขียนใช้เทคโนโลยี Facebook Live ในการเรียนร่วม double classroom)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
***ท้ายบทความ***

       ขอบคุณอาจารย์ผู้ให้ความรู้การสร้าง Blog รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ข้าพเจ้าหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพให้กับนักเรียนต่อไป

---- นายสุทธิกิตติ์ ธิติวรนันท์ ----
   
           
            

No comments:

Post a Comment