Monday 28 May 2018

วิจัยน่าสนใจ...Thailis โดย นายสุทธิกิตติ์ ธิติวรนันท์

งานวิจัยเรื่องที่ 1 (Thailis)





งานวิจัยเรื่องที่ 2 (Thailis)




งานวิจัยเรื่องที่ 3 (Thailis)


















Thursday 24 May 2018

DSN Digital Citizens 4.0

DSN Digital Citizens 4.0

     1. บทบาทหน้าที่ของ DSN Digital Citizens 4.0 คือ 

         - เป็นระบบสำหรับครูผู้สอนประยุกต์จัดการเรียนการสอนที่เน้นสารสนเทศเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบ Digital Classroom โดยมีเนื้อหา ความรู้ วิธีการ VDO ต่าง ๆ สำหรับสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียน สร้างความเข้าใจ และสามารถใช้เป็นแหล่งทบทวนสิ่งที่ได้เรียนหลังจากจบชั่วโมงเรียน พร้อมทั้งระบบการส่งงาน Online ผ่านการแชร์ลิ้งค์ในระบบ ระบบ Cloud Drive ที่ประยุกต์ใช้ Social Network  ปัจจุบันที่นักเรียนคุ้นเคยง่ายต่อความเข้าใจ และสนใจอยู่แล้ว เกิดการยอมรับโดยตนเอง เช่น Facebook


      http://gg.gg/aezp3

     2. การทำงาน DSN Digital Citizens 4.0 คือ

         2.1 นักเรียนทำการเข้าเว็บไซต์จากลิ้งค์ที่ครูให้ http://gg.gg/aef95 หรือ ทำการสแกน QR-Code 

         2.2 นักเรียนสามารถทำการเรียนรู้เนื้อหาที่แบ่งเป็นระดับชั้นทั้งมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 4 โดยภายในจะมีทั้งเนื้อหา ใบงาน และตัวอย่างต่าง ๆ ที่สนับสนุนสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียน




        2.3 นักเรียนสามารถทำการเรียนรู้เป็น VDO ตัวอย่างจาก Youtube Channel 
        2.4 นักเรียนสามารถส่งชิ้นงาน Online ผ่านการแชร์ลิ้งค์ในระบบ ระบบ Cloud Drive ไปที่ Facebook Fanpage






     3. องค์ประกอบของระบบ         

         3.1 Welcome Debsirin Nonthaburi School



         3.2 e - Portfolio ประวัติ คุณสมบัติ และผลงานผู้สอน



         3.3 Content เนื้อหาสำหรับการเรียนรู้ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4 ตามลำดับ









          3.4 Youtube Channel เป็นช่องรายการ VDO ทบทวนเนื้อหา    


  



           3.5 Facebook Classroom Online สำหรับส่งผลงาน




     4. ประโยชน์ของระบบ          
         DSN Digital Citizens 4.0 เป็นนวัตกรรม หรือระบบที่นักเรียนได้เรียนในรูปแบบ Digital Classroom ที่สามารถประยุกต์เป็น Flipped Classroom อีกทั้งยังได้ทบทวนเนื้อหาบทเรียนผมในรูปแบบ VDO และเพิ่มทักษะการส่งงานที่มีพื้นฐานของระบบ Cloud Drive โดบผ่านเทคโนโลยีที่คุ้นเคย Facebook Fanpage เพิ่มเวลาการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา เพิ่มช่องทางการส่งงาน เพิ่มช่องทางการติดต่อผู้สอน จึงเกิดการเรียนการสอนแบบยอมรับโดยตัวเอง


**************************************



Sunday 13 May 2018

การจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบ Double Classroom

          ช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบวิธีคิด การเรียนรู้แบบ Double Classroom "ผู้เขียน" มีสถานะเป็นครูผู้ช่วยสังกัดโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี พ.ศ. 2561 
           ช่วงดังกล่าว "ผู้เขียน" ได้มีโอกาสแบ่งปันและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนกับคุณครูทั้ง 2 ท่าน ซึ่งท่านแรกครูปานทิพย์ ดอนขันไพร สอนอยู่โรงเรียนวัดสระสี่มุม และท่านที่สองครูปัณณธร แก้วเขียว สอนที่โรงเรียนวัดคลองสว่างอารมณ์ โดยทั้ง 2 สอนกลุ่มสาระฯ สังคมเดียวกัน แต่ต่างโรงเรียน ที่กำลังก้าวเข้าสู่เวทีการนำเสนอผลงานในระดับประเทศ ซึ่งเป็นรายการที่มีคุณค่าและทรงเกียรติกับชีวิตข้าราชการครูทั่วประเทศ โดยโครงการ Thailand Innovative Teacher Leadership Awards บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทุก ๆ ปี จึงเกิดแนวคิดของการสร้างห้องเรียนแบบ Dubble Classroom โดยมีเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารเป็นจุดเชื่อมโยง

Double Classroom คืออะไร ?

            ในความหมายของผู้เขียน การเรียนรู้แบบ double classroom คือ ชุมชนการเรียนรู้ การแบ่งปันกิจกรรม กระบวนการ รูปแบบ ผลงานระหว่างห้องเรียนต่างสถานที่ ต่างโรงเรียน ต่างภูมิประเทศ ซึ่งลักษณะเนื้อหา ความรู้อาจมีลักษณะเป็นวิชาเดียวกัน หรือคล้ายคลึงในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น กลุ่มสาระสังคมฯ ผู้เรียนกำลังศึกษาหัวข้อการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ เป็นต้น โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคพลเมืองดิจิตอล หรือศตรวรรษที่ 21 โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียน และผู้สอนได้เกิดทักษะ 3 สิ่งคือ
             1. Knowlage โรงเรียนคู่สัมพันธ์ได้แบ่งปันความรู้ เช่น โรงเรียนวัดสระสี่มุมกำลังเรียนเนื้อหาสำรวจ ระบุตำแหน่งของภูมิศาสตร์ โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์เรียนเนื้อหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 โรงเรียนสามารถเชื่อมโยงให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรื่องตำแหน่งที่ตั้งภูมิศาสตร์ ที่อาจสอดคล้องกับภัยทางธรรมชาติที่มีอยู่ตามสภาพที่ตั้งภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ได้ เป็นต้น
             2. Share สำหรับการแบ่งปันจะเกิดกับผู้เรียน และผู้สอนได้โดยตรง เนื่องด้วยเทคโนโลยี 
Online สามารถสร้างหรือจำลองการเรียนแบบร่วมภายในเวลาที่เหมาะสมระหว่างกัน เกิดการแบ่งปันความรู้ ข้อคำถาม และข้อแนะนำซึ่งกันและกันเป็นห้องเรียนแบบเปิดกว้างสร้างความน่าสนใจให้กับสังคมห้องเรียนแบบใหม่ ๆ
             3. experience ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนการสอน การเรียนรู้ อีกระดับของเทคโนโลยี
และการสื่อสาร มุมมองการเรียนรู้ เทคนิควิธีต่าง ๆ ของห้องเรียนต่างโรงเรียนซึ่งกันและกัน

ประโยชน์ Double Classroom ?

             1. เรียน 1 ได้ถึง 2 (ทูอินวัน) คือ สามารถเสริมการเรียนรู็ในช่วงเวลาเดียวกัน รับรู้พร้อม ๆ กัน
             2. การมีส่วนร่วม คือ นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีปัจจุบันสมาร์ทโฟนร่วมแสดงความคิดเห็น โหวต ติดตาม แนะนำ คำถามต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ได้
             3. เชื่อมโยง คือ การเชื่อมโยงความเป็นพลเมืองดิจิตอลในยุคศตวรรษที่ 21 ผ่านสังคมการเรียนร่วมเทคโนโลยี Online ในวิธีการ

แนะนำโดย "ผู้เขียน" ครูสุทธิกิตติ์ ธิติวรนันท์

             1. Double Classroom เหมาะกับกลุ่มสาระฯ เดียวกัน หัวข้อใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกันจึงจะเป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎี Double Classroom ต่างสถาบันที่ผู้สอนจะได้เสนอในความหมายข้างต้น และรูปแบบ วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ หรือต่างออกไปทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากเป็นทวีคูณในแต่ละคาบของการเรียนการสอน
             2. โปรแกรม หรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ควรเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารปัจจุบัน ง่ายต่อการเข้าถึง ผู้เรียนคุ้นเคย สะดวก และเข้าถึง (ในที่นี้ผู้เขียนใช้เทคโนโลยี Facebook Live ในการเรียนร่วม double classroom)

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
***ท้ายบทความ***

       ขอบคุณอาจารย์ผู้ให้ความรู้การสร้าง Blog รศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ข้าพเจ้าหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพให้กับนักเรียนต่อไป

---- นายสุทธิกิตติ์ ธิติวรนันท์ ----